หน่วยที่ 7 อินเทอร์เน็ต
















ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของเครือข่าย
เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่
ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปเชื่อมต่อกัน
อินเทอร์เน็ตมาจากความต้องการของงานวิจัยในกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ฯ
แต่ได้เติมโตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ครอบคลุมทั่วโลก ให้บริการแก่ทุกองค์กร (ยืน ภู่วรวรรณ 2550 : 213)
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก
และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ทำให้สามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
จึงจะขอยกตัวอย่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.การค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งที่สนใจได้เวิลด์ไวด์เว็บซึ่งเป็นบริการข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่เก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มหาศาลในบริการ
2.บนอินเทอร์เน็ตให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนและเชื่อมโยงถึงกันได้ในเวิลด์ไวด์เว็บแต่ละแห่งจะจัดทำข้อมูลทั้งข้อความปกติ
หรือแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว และใช้เทคโนโลยีไฮเปอร์เท็กซ์
และไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ในการเชื่อมโยงเอกสารชุดหนึ่งไปสู่เอกสารอีกชุดหนึ่ง
ดังนั้น เมื่อเข้าไปใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บในที่แห่งหนึ่งก็สามารถเชื่อมไปยังเวิลด์ไวด์เว็บแห่งอื่นได้
3.การโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์การและหน่วยงานต่าง
ๆ มักจะมีเว็บไซต์ (Web Site) บนอินเทอร์เน็ตเพื่อทำการให้บริการข้อมูลและประชาสัมพันธ์องค์การและหน่วยงานให้แก่บุคคลภายนอกได้ทราบ
เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์การ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์เหล่านี้เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า
และบริการที่ผู้ใช้ต้องการจะซื้อ
ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานได้
4. การอ่านข่าว (Read
the News) ผู้ใช้สามารถอ่านข่าวต่าง ๆ
จากทุกมุมโลกได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการข่าวบนอินเทอร์เน็ตตลอดจนข่าวจากหนังสือพิมพ์ต่าง
ๆ ในประเทศไทยได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
5.
การอ่านหนังสือวารสารและนิตยสาร (Read
the Magazines) ในปัจจุบันมีบริษัทที่ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมากจัดทำนิตยสารออนไลน์ไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตเช่น
Time และ Max PC เป็นต้น
6. การส่งการ์ดอวยพรและข้อความให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและเพจเจอร์
ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถส่งการ์ดอวยพรเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ให้กับผู้คนที่ผู้ใช้รู้จักได้ทั่วโลกด้วยการส่งการ์ดอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการบนอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใด
ๆ ทั้งสิ้น และยังสะดวกรวดเร็วอีกด้วย
บริษัทผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือและเพจเจอร์ต่าง ๆ
ก็หันมาใช้ประโยชน์จากเครือข่ายบริการบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการฝากข้อความไปยังเพจเจอร์และโทรศัพท์มือถือเกิดขึ้นมากมาย
7. การค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด (Explore
Libraries) บนอินเทอร์เน็ตมีห้องสมุดออนไลน์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากให้ผู้ใช้ได้ค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
โดยผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังห้องสมุดนั้น ๆ เพื่อใช้บริการด้วยตนเอง
ซึ่งบางห้องสมุดในประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ผู้ใช้ทำการยืมหนังสือจากห้องสมุดออนไลน์ได้
โดยผู้ใช้จะต้องทำการเลือกหนังสือที่ต้องการจากรายการหนังสือของห้องสมุดหลังจากนั้นห้องสมุดจะทำการจัดส่งหนังสือที่ต้องการมาให้ภายในเวลาไม่กี่วัน
โดยจัดส่งผ่านทางไปรษณีย์
8. การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ (Software
Download) บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น Microsoft,
Mcafee, Sysnemtec เป็นต้น
จะมีเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลและบริการเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ
ของบริษัทซึ่งโปรแกรมเหล่านั้นอาจจะให้ฟรี หรือให้ทดลองใช้โดยมีการกำหนดเวลาการใช้งาน
ดังนั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เหล่านั้นมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
เพื่อทำการศึกษาหรือใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
9.
การซื้อสินค้าและบริการ (Shopping)
บนอินเทอร์เน็ตมีบริการซื้อขายสินค้า โดยผู้ใช้สามารถเลือกดูสินค้าพร้อมทั้งคุณสมบัติต่าง
ๆ ของสินค้าผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
แล้วสั่งซื้อและจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตได้ทันที สินค้าที่มีจำหน่ายบนอินเทอร์เน็ตก็มีครบทุกประเภทเหมือนกับห้างสรรพสินค้าใหญ่
ๆ นับว่าเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง
10. การดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch
TV And Listen Music) ผู้ใช้สามารถดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ
หรือดูรายการถ่ายทอดสดของสถานีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือต่างประเทศก็ได้
โดยคุณภาพของเสียงอาจจะไม่เทียบเท่ากับการดูจากโทรทัศน์หรือฟังเพลงจากระบบปกติ
แต่ก็มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการใช้บริการได้รับความสะดวก
สามารถใช้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่สามารถเข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ตได้
11. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange
Massage) ผู้ใช้สามารถรับ ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ กับผู้ใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตคนอื่น
ๆ ทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว
โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายแบบปกติ
หรือส่งข้อมูลด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากนั้นยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ไปจนถึงข้อมูลและมัลติมีเดียที่เป็นภาพและเสียงได้ด้วย
12. การเล่มเกม (Play
Games) บนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์จำนวนมากที่ให้บริการเกมออนไลน์
เพื่อความบันเทิงและฝึกทักษะทางสมอง ซึ่งเกมออนไลน์มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น
เกมเพื่อการศึกษา เกมแนวไขปริศนา (Puzzle) เกมวางแผนทางยุทธศาสตร์
ฯลฯ ซึ่งเกมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมองของเด็กให้เร็วขึ้น
และช่วยเสริมสร้างทักษะความคิดในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
13.การสนทนาออนไลน์ (Chat)
ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการติดต่อสื่อสารแบบทันทีทันใด อินเทอร์เน็ตสามารถช่วยให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยกับผู้ใช้บริการคนอื่น
ๆ บนอินเทอร์เน็ตจากที่ต่าง ๆ ในโลกได้ด้วยการพิมพ์ข้อความส่งถึงกันโดยข้อความที่พิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์จะไปปรากฏบนหน้าจอของคู่สนทนาทันที
หรือจะเลือกวิธีการพูดคุยด้วยเสียงพร้อมกับภาพก็สามารถทำได้
14. การเรียนทางไกล (Distance
learning) ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ในต่างประเทศที่มีหลักสูตรการเรียนแบบทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท
และปริญญาเอกโดยผู้เรียนไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนในชั้นเรียน
เพียงแต่ลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในระบบทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ทางมหาวิทยาลัยก็จะจัดส่งตารางเรียน ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ มาให้ โดยผู้เรียนจะต้องออนไลน์เข้าสู่บริการบนอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าเรียนตามวันและเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการเกี่ยวกับการเรียนการสอนในลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเรื่องต่าง
ๆ เป็นจำนวนมาก โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เช่น การสอนภาษาอังกฤษ
คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
15. การหางานทำบนบนอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่าง
ๆ ที่ให้บริการจัดหางานผ่านทางบริการบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก โดยผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประกาศรับสมัครงานของบริษัทต่าง
ๆ และสามารถทำการสมัครงานโดยตรงบนเว็บไซต์ดังกล่าวได้ การใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตในการรับพนักงานของบริษัทต่าง
ๆ จึงช่วยผู้ว่าจ้างและผู้ต้องการหางานทำได้รับความสะดวก
และได้ตำแหน่งงานตามที่ต้องการ
16. การวางแผนการเดินทาง การสำรองที่พัก
และการซื้อตั๋วโดยสารเมื่อผู้ใช้ต้องการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก็สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางตารางเวลาเดินทางของรถยนต์
รถไฟ และเครื่องบินได้โดยผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังสามารถสำรองห้องพักของโรงแรมต่าง
ๆ ตลอดจนสามารถสำรองที่นั่งและซื้อตั๋วเครื่องบินจากสายการบินต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
17. การค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ บนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์จำนวนมากที่ให้บริการค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของบุคคล
องค์การ บริษัทต่าง ๆ เพียงแค่ป้อนข้อมูลของบุคคลที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา เช่น
ชื่อและนามสกุล ชื่อเมือง ชื่อรัฐ และประเทศ
ลงในช่องกรอกข้อมูลก็สามารถทราบที่อยู่โดยละเอียด แผนที่บ้าน ที่ทำงาน
เบอร์โทรศัพท์ และ อีเมล์แอดเดรส ของบุคคลหรือองค์การที่ต้องการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
18. การรายงานและพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ มีเว็บไซต์ต่าง
ๆ
ให้บริการสอบถามและพยากรณ์สภาพภูมิอากาศโดยมีความสามารถในการรายงานสภาพภูมิอากาศทุกประเทศทั่วโลก
19. การแสดงแผนที่และเส้นทางการขับขี่รถยนต์
ผู้ใช้สามารถค้นหาและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับถนน แผนที่ จำนวนไมล์หรือกิโลเมตร
จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทางได้จากเว็บไซต์จำนวนมากที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต
20. การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และการซื้อขายหุ้นสำหรับนักลงทุน
หรือผู้ที่ชอบซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สามารถหาข้อมูลความเคลื่อนไหวของดรรชนีตลาดหลักทรัพย์หรือความเคลื่อนไหวของบริษัทต่าง
ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลด้านการซื้อขายหุ้น
ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณา
รวมทั้งสามารถทำการซื้อขายผ่านบริการบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
บริการบนอินเทอร์เน็ตและระบบโทรศัพท์มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกัน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับบริการบนอินเทอร์เน็ตได้
คล้ายกับการเชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านเข้ากับระบบโทรศัพท์ เมื่อทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ก็เหมือนกับว่าคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และเป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทั่วโลก
ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ก็จะสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ บนบริการบนอินเทอร์เน็ตได้
1. ผู้ให้บริการ วิธีการพื้นฐานที่ทำให้เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ตได้คือ
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบของผู้ให้บริการบริการบนอินเทอร์เน็ต (Internet
Service Provider) หรือ ไอเอสพี (ISP)
ผู้ให้บริการบริการบนอินเทอร์เน็ตเหล่านี้เชื่อมต่ออยู่กับระบบบริการบนอินเทอร์เน็ตและเปิดเส้นทางเชื่อมต่อให้กับบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ตได้
สำหรับระบบบริการบนอินเทอร์เน็ตภายในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยมักจะอนุญาตให้เชื่อมต่อบริการบนอินเทอร์เน็ตได้
โดยผ่านระบบเครือข่ายเฉพาะที่ หรือเชื่อมต่อผ่านระบบการหมุนโทรศัพท์
นอกจากนี้มีผู้ให้บริการบางรายให้บริการฟรี เช่น ระบบของบริษัท ทีโอที จำกัด
(มหาชน) (TOT online)
2. เบราเซอร์ (browser) เป็นโปรแกรมที่เข้าไปใช้ทรัพยากรต่าง ๆ บนเว็บไซต์ได้ ทำให้สามารถเรียกดูข้อมูล
ส่งข้อมูล แสดงข้อความและภาพ
ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนจากเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งได้โดยง่าย
หรือที่เรียกกันว่า การท่องบริการบนอินเทอร์เน็ต (Surf) เว็บเบราเซอร์ที่ใช้งานกันมากได้แก่
Microsoft Internet Explorer, Mozilla Firefox และ Opera
เบราเซอร์จะเชื่อมต่อไปยังแหล่งทรัพยากรต่าง
ๆ ได้โดย มีการกำหนดที่อยู่ของทรัพยากรไว้ ซึ่งเรียกว่า ยูอาร์แอล
โดยจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังภาพที่ 2.26 ส่วนแรกจะแสดงถึงโปรโตคอลที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับแหล่งที่อยู่ของทรัพยากร
โปรโตคอลเป็นกฎสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ โปรโตคอล http://
เป็นโปรโตคอลพื้นฐานสำคัญที่ใช้บนเว็บไซต์ ส่วนที่สองคือ ชื่อโดเมน
(domain name) หรือ โดเมนลำดับสูงสุด (top level
domain) ซึ่งเป็นชื่อคอมพิวเตอร์ที่มีทรัพยากรเหล่านั้นอยู่
ส่วนสุดท้ายของชื่อโดเมนเรียกว่า รหัสโดเมน (domain code)
ซึ่งจะบอกประเภทขององค์กร เช่น .com หมายถึง
เว็บไซต์ทางการค้า ดังตารางที่ 2.1
เมื่อพิมพ์ยูอาร์แอลลงไปในเบราเซอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานจะเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการสารสนเทศเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้น ซึ่งเป็นแหล่งที่เก็บข้อมูลเอกสารและสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ ของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปจะเรียกกันว่า เว็บไซต์ จากนั้นคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการสารสนเทศก็จะส่งข้อมูลหน้าแรกของเว็บไซต์ หรือ โฮมเพจ (Homepage) มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ทำงานอยู่ และผู้ใช้ยังสามารถเรียกดูเอกสารหน้าอื่น ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์นั้นได้ โดยเอกสารแต่ละหน้าจะเรียกว่าเว็บเพจ (Web page)
ตารางที่ 2.1 ตารางเปรียบเทียบรหัสโดเมนของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย
การเชื่อมต่อกับบริการบนอินเทอร์เน็ต (วิโรจน์ และ วศิน 2548 : 185-186)
ผู้ใช้ทั่วไปจะเชื่อมต่อบริการบนอินเทอร์เน็ตได้โดยผ่านทางผู้ให้บริการบริการบนอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพี ดังที่กล่าวไปแล้ว แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท ดังต่อไปนี้
1. ถ้าต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ต้องมีโมเด็ม (Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์แบบไอเอสดีเอ็น (ISDN : Integrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็มไอเอสดีเอ็นโดยเฉพาะแทน ตามภาพที่ 2.7
2. ถ้าต่อบริการบนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่าเอดีเอสแอลหรือบรอดแบนด์ (Broadband) ก็ต้องมีโมเด็มชนิดเอดีเอสแอลที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์เช่นเดียวกัน แต่รับส่งสัญญาณในสายคนละแบบ คนละความถี่กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา แต่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายโทรศัพท์ด้วยจึงจะใช้ได้ ตามภาพที่ 2.8
คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับบริการบนอินเทอร์เน็ต
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั่วโลก ตัวดับเบิ้ลยู 3 ตัวเรียงกันจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อของคอมพิวเตอร์แม่ข่ายในบริการบนอินเทอร์เน็ต
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือแหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่นรูปภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัท หรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นว่าเว็บเพจและ เว็บเพจหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page)
3. ไอพีแอดเดรส (IP Address) คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนบริการบนอินเทอร์เน็ตซึ่งการติดต่อสื่อสารบนบริการบนอินเทอร์เน็ตจะอาศัยหมายเลขไอพีแอดเดรส นี้ในการระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ไอพีแอดเดรสประกอบด้วยตัวเลขทั้งหมด 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าตั้งแต่ 0-255 และถูกคั่นด้วย “ . ” เช่น 203.107.49.1
4. โปรโตคอล (Protocol) เป็นระเบียบวิธีการหรือภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบ ซึ่งในระบบคอมพิวเตอร์บริการบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีให้อยู่ด้วยกันหลายโปรโตคอล
5. ไฮเปอร์เท็กซ์ลิงก์ (Hypertext Link) คือ ชื่อเรียกวิธีการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบบริการบนอินเทอร์เน็ต
6. เอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language : HTML) เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ ซึ่งสามารถกำหนดการเชื่อมต่อไปยังเว็บเพจต่าง ๆ ได้โดยใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ลิงก์
7. เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) โปรแกรมที่ทำการประมวลผลไฮเปอร์เท็กซ์แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพเช่น MS Internet Explorer, Mozilla Firefox, Opera เป็นต้น
8. ไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) เป็นหน่วยงานหรือบริษัทที่ให้บริการเชื่อมต่อบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น TOT, TT&T, KSC, CS Loxinfo Internet เป็นต้น
สรุป
อินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถสืบค้นข้อมูลจากทั่วโลก และคัดลอกข้อมูลมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองได้อย่างวดเร็ว จึงเรียกอินเทอร์เน็ตได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ทางด่วนสารสนเทศ (Information Highway)”

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น